วันจันทร์ที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561

ผลของคู่หูเบาหวานต่อการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวาน



ผลของคู่หูเบาหวานต่อการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวาน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล บ้านโป่งหิน  ตำบลโพนทอง อำเภอเสนางคนิคม จังหวัดอำนาจเจริญ ปี 2561

ผู้ป่วยเบาหวานที่ไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ในขณะที่ผู้ป่วยส่วนใหญ่เป็นผู้สูงอายุ และอาศัยอยู่ตามลำพัง  หรือเป็นผู้สูงอายุดูแลกันเอง ขาดผู้ดูแล ทำให้ผู้ป่วยมีพฤติกรรมสุขภาพไม่ถูกต้องควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้ ส่งผลให้มีภาวะแทรกซ้อนความรุนแรงของโรคมากขึ้น ทั้งนี้ การศึกษาที่ผ่านมาพบว่าการมีผู้ดูแลจะทำให้สามารถควบคุมระดับน้ำตาลได้ดี และในบริบทของชุมชนอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) มีบทบาทในการดูแลสุขภาพประชาชน ดังนั้น การวิจัยกึ่งทดลอง ครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานก่อนและหลังมีคู่หูเบาหวาน ในประชากร ผู้ป่วยเบาหวานในเขตโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล  บ้านโป่งหิน  ที่ขาดคนดูแล และมีระดับน้ำตาลในเลือดเกิน 130 mg % ในเดือน มกราคม 2560 จำนวน 25 คน โดยการดูแลด้วยคู่หูเบาหวาน ประกอบด้วย 1) คัดเลือก อสม. เพื่อจับคู่หู ดูแลผู้ป่วยเบาหวาน 2) จัดค่ายติวเข้มแบบคู่หูเบาหวานทั้งผู้ป่วยและคู่หูในด้านพฤติกรรมสุขภาพที่เหมาะสม  3) คู่หูเบาหวานออกติดตามผู้ป่วยตามแนวทาง (สัปดาห์แรก ติดตามทุกวัน, สัปดาห์ที่ 2 ติดตามวันเว้นวัน, สัปดาห์ที่ 3-4 ติดตามสัปดาห์ละ 1 ครั้ง และสัปดาห์ที่ 5 เป็นต้นไป ติดตามเดือนละ ครั้ง) 4) จัดแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทั้ง ผู้ป่วย และ คู่หู ประเมินความก้าวหน้าทุก 2 เดือน และ 5) มอบรางวัล ให้ผู้ป่วยและคู่หู ที่มีระดับน้ำตาลในเลือด ต่ำกว่า 130 mg % ในเดือน กันยายน 2560 และมอบเกียรติบัตร เป็นบุคคลต้นแก่ผู้ป่วย เก็บข้อมูลโดยใช้แบบบันทึกข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ผลการศึกษา พบว่าคู่หูส่วนใหญ่ เป็น เพศหญิงร้อยละ 88 อายุระหว่าง 31-59 ปี ร้อยละ 88 จบการศึกษา ระดับชั้นมัธยมศึกษา ร้อยละ 76 อาชีพเกษตรกรรมทุกคน  ด้านกลุ่มผู้ป่วยเบาหวาน ส่วนใหญ่ เป็น เพศหญิงร้อยละ 72 อายุ 60 ปี ขึ้นไป ร้อยละ56 จบการศึกษา ระดับชั้นประถมศึกษา ร้อยละ 84 อาชีพเกษตรกรรม ร้อยละ 84 โดยก่อนการทดลองผู้ป่วยเบาหวานมีค่าเฉลี่ยระดับน้ำตาลในเลือด เท่ากับ 193 mg %  (SD  =57.41) ภายหลังได้รับการดูแลคู่หูเบาหวาน ทำให้ผู้ป่วยเบาหวานมีค่าเฉลี่ยของระดับน้ำตาลในเลือดลดลง เท่ากับ 153 mg % (SD. = 42.25) และมีผู้ป่วยที่มีค่าระดับน้ำตาลในเลือด ลดลง ร้อยละ 72 เท่าเดิม ร้อยละ 16 เพิ่มขึ้น ร้อยละ 12 และลดลงถึงระดับปกติ ร้อยละ16 สรุปได้ว่า การดูแลผู้ป่วยเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลไม่ได้โดยคู่หูเบาหวานส่งผลให้ผู้ป่วยสามารถควบคุมระดับน้ำตาลได้ดียิ่งขึ้น จึงควรนำไปขยายผลต่อในพื้นที่อื่นๆ ต่อไป
Share:

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

หน้าเว็บ

javascript:;

ค้นหาบล็อกนี้

ขับเคลื่อนโดย Blogger.

ผู้ให้ข้อมูลร่วมกัน

HA National Forum ครั้งที่ 24

 งานประชุมวิชาการ HA National Forum ครั้งที่ 24 มีประเด็นสำคัญ คือ การใช้แนวคิด "Growth Mindset for Better Healthcare System" มากร...

คลังบทความของบล็อก

Recent Posts

Unordered List

Theme Support