วันพฤหัสบดีที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561

ประสิทธิผลของเทคนิคการให้คำปรึกษาเสริมสร้างแรงจูงใจเฉพาะรายต่อการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่มีภาวะไตเรื้อรังระยะ 3


ประสิทธิผลของเทคนิคการให้คำปรึกษาเสริมสร้างแรงจูงใจเฉพาะรายต่อการควบคุม
ระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่  2 ที่มีภาวะไตเรื้อรังระยะ  3 
ที่เข้ารับการรักษาที่คลินิกชะลอไตเสื่อมโรงพยาบาลเสนางคนิคม
 
 
 
 
 
                  การวิจัยครั้งเป็นการวิจัยกึ่งทดลอง  เพื่อพัฒนาและศึกษาประสิทธิผลของเทคนิคการให้คำปรึกษาเสริมสร้างแรงจูงใจเฉพาะราย ต่อการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่  2  ที่มีภาวะไตเรื้อรังระยะ  3  กลุ่มตัวอย่างคือ  ผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์ว่า  เป็นผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่  2  ร่วมกับมีภาวะไตเรื้อรังระยะ  3  ที่มีผลระดับน้ำตาลในเลือด FPG  มากกว่า  150  มิลลิกรัมเดซิลิตร และได้รับการรักษาโดยวิธีการกินยา  ที่คลินิกชะลอไตเสื่อม ในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2560  โรงพยาบาลเสนางคนิคม  อำเภอเสนางคนิคม  จังหวัดอำนาจเจริญ  จำนวน  17 ราย ได้รับคำปรึกษาแบบเสริมสร้างแรงจูงใจเฉพาะรายบุคคล  นาน 5-10 นาที อย่างต่อเนื่อง จำนวน  4 ครั้งใน 6 เดือน มีการเก็บข้อมูลด้วยแบบบันทึกการสัมภาษณ์  ตามแนวทางปฏิบัติการให้คำแนะนำเพื่อเสริมสร้างแรงจูงใจในผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ( Motivation  Interviewingin NCDS) โดยการสนทนาให้คำปรึกษาแบบสั้น ( MI for NCD ) (อ้างในการวิจัยในโครงการพัฒนาระบบการให้คำปรึกษาแบบสร้างแรงจูงใจ ,เทิดศักดิ์ เดชคง , 2560) 
 
                 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณา  ได้แก่  ความถี่  ร้อยละ  ค่าเฉลี่ย  และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมาน ได้แก่  Paired-Simple  t-test   ผลการวิจัยพบว่า  กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง  ร้อยละ 70.59  ส่วนใหญ่อยู่ในช่วงอายุระหว่าง 60-69 ปี ร้อยละ 58.83 อายุที่น้อยที่สุด 59 ปี อายุมากที่สุด 77 ปี อายุเฉลี่ย 67.71 ปี ทั้งหมดนับถือศาสนาพุทธ  ระดับการศึกษา  ส่วนใหญ่จบประถมศึกษา  ร้อยละ 70.59 ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม  ร้อยละ  47.06 มีรายได้ต่อเดือนต่ำกว่า 5,000 บาท  ร้อยละ 70.59  และรายได้ส่วนใหญ่พอเพียงกับการดำรงชีวิตไม่มีเหลือเก็บ  ส่วนใหญ่ใช้สิทธิ์การรักษาบัตรประกันสุขภาพถ้วนหน้า(สูงอายุ)  ร้อยละ  64.71 ระยะเวลาในการเป็นโรคเบาหวานมากที่สุดอยู่ในช่วง  11-15 ปี  สูงสุดนาน 16 ปี  ต่ำสุด 3 ปี  เฉลี่ย 11.82  ปี  จากการสัมภาษณ์เชิงลึกพบว่าผู้ป่วยส่วนใหญ่ให้ความสำคัญกับการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดโดยการควบคุมอาหาร  ร้อยละ  70.59  ผู้ป่วยที่ได้รับการให้คำปรึกษาเสริมสร้างแรงจูงใจเฉพาะราย มีค่าเฉลี่ยของระดับน้ำตาลในเลือด FPG  ต่ำกว่าก่อนให้คำปรึกษาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่  ระดับ 0.05(P<0.05)  พบว่าผู้ป่วยสามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด FPG  ต่ำกว่า  130  มิลลิกรัมเดซิลิตร  ในวันที่มาบริการครั้งที่ 2   ร้อยละ  82.35  ครั้งที่  3 ร้อยละ  88.23  ดังนั้นควรนำเทคนิคการให้คำปรึกษาแบบเสริมสร้างแรงจูงใจเฉพาะรายบุคคล ไปใช้ส่งเสริมพฤติกรรมควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 










 
 
 
Share:

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

หน้าเว็บ

javascript:;

ค้นหาบล็อกนี้

ขับเคลื่อนโดย Blogger.

ผู้ให้ข้อมูลร่วมกัน

คลังบทความของบล็อก

Recent Posts

Unordered List

Theme Support