วันจันทร์ที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561

ผลของการให้คำปรึกษาด้านโภชนาการรายบุคคลแบบมีส่วนร่วม ในกลุ่มผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่2 ที่มีระดับน้ำตาลอยู่ในช่วงสีแดงจากปิงปองจราจร 7 สี

ผลของการให้คำปรึกษาด้านโภชนาการรายบุคคลแบบมีส่วนร่วม
 ในกลุ่มผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่2 ที่มีระดับน้ำตาลอยู่ในช่วงสีแดงจากปิงปองจราจร 7 สี 

    ในปี 2560 มีผู้ป่วยเบาหวานที่มารับบริการที่โรงพยาบาลเสนางคนิคมที่ไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ มีระดับน้ำตาลอยู่ในช่วงสีแดงจากปิงปองจราจร 7 สี และส่งพบนักโภชนาการเนื่องจากเป็นผู้ป่วยที่มีปัญหาในการควบคุมอาหารเป็นหลัก เพื่อให้คำปรึกษาปัญหาโภชนาการรายบุคคล จำนวน 782 ราย และมีแนวโน้มจะเพิ่มมากขึ้นในปี 2561 เนื่องจาก ตั้งแต่เดือน ตุลาคม 2560 ถึง มกราคม 2561 มีผู้ป่วยเบาหวานที่มารับบริการที่โรงพยาบาลเสนางคนิคม ที่ไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ มีระดับน้ำตาลอยู่ในช่วงสีแดงจากปิงปองจราจร 7 สี และส่งพบนักโภชนาการเนื่องจากเป็นผู้ป่วยที่มีปัญหาในการควบคุมอาหาร มีจำนวนมากถึง 356 ราย คิดเป็น ร้อยละ 45.52 ของปี 2560 ในระยะเวลา 4 เดือน จากที่มาและความสำคัญดังกล่าว ผู้วิจัยจึงได้คิดรูปแบบของการให้คำปรึกษาด้านโภชนาการในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่มีระดับน้ำตาลอยู่ในช่วงสีแดงจากปิงปองจราจร 7 สี ในโรงพยาบาลเสนาง คนิคม ในรายที่มีปัญหาการควบคุมอาหารไม่ได้ เพื่อนำผลการศึกษามาพัฒนารูปแบบการให้คำปรึกษาด้านโภชนาการในผู้ป่วยเบาหวานที่มารับบริการในโรงพยาบาลเสนางคนิคมเพื่อให้ผู้ป่วยสามารถนำไปเป็นแนวทางปฏิบัติเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหารได้อย่างถูกต้องเพื่อชะลอภาวะแทรกซ้อนต่างๆได้

วัตถุประสงค์การวิจัย 
เพื่อศึกษาผลของการให้คำปรึกษาด้านโภชนาการรายบุคคลแบบมีส่วนร่วมในกลุ่มผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่2 ที่มีระดับน้ำตาลอยู่ในช่วงสีแดงจากปิงปองจราจร 7 สี ในโรงพยาบาลเสนางคนิคม ประชากรและ

กลุ่มตัวอย่าง

ประชากรที่ศึกษา คือผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์ว่าเป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ที่มารับ
บริการที่คลินิกเบาหวาน โรงพยาบาลเสนางคนิคม  จำนวน 86  คน สุ่มเลือกโดยมีเกณฑ์คัดเข้าและคัดออก ดังนี้

เกณฑ์คัดเข้า

1. เป็นผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์ว่าเป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2

2.  ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ไม่ดี ที่มีระดับน้ำตาลอยู่ในช่วงสีแดงจากปิงปองจราจร 7 สี (Fasting

     blood sugar  ≥182 mg/dl)  จำนวน 2 ครั้งติดต่อกัน

3. เป็นผู้ที่มีปัญหาการควบคุมอาหาร

เกณฑ์คัดออก

1.  มีภาวะแทรกซ้อน หรือโรคที่เป็นอุปสรรคต่อการเข้าร่วมการวิจัยเช่น โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง   โรคไตระยะ 4-5 เป็นต้น

ขั้นตอนการวิจัย
ครั้งที่ 1
1. สัมภาษณ์ข้อมูลทั่วไป
2. บันทึกผลตรวจระดับน้ำตาลในเลือด (Fasting blood sugar: FBS) ก่อนการทดลอง
3. สอบถามพฤติกรรมการบริโภคอาหาร
4. ค้นหาปัญหาร่วมกับผู้ป่วย
5. ให้ความรู้เกี่ยวกับผลดีของการควบคุมอาหารและผลเสียของการไม่ควบคุมอาหาร
6. ให้คำปรึกษาและวางแผนการบริโภคอาหารที่เหมาะสมกับความต้องการของร่างกาย โดยการ 
   เสริมสร้างแรงจูงใจ ให้กำลังใจ และให้ผู้ป่วยมีส่วนร่วมในการกำหนดเป้าหมายการควบคุมด้วยตนเอง
7. บันทึกปัญหาและเป้าหมายลงในสมุดคู่มือเบาหวาน
8. ให้สื่อแผ่นพับ ตัวอย่างอาหาร/เครื่องดื่ม และใบกำหนดอาหารเพื่อ
ครั้งที่ 2
1. บันทึกผลตรวจระดับน้ำตาลในเลือด (Fasting blood sugar: FBS)
2. ติดตาม ทบทวนความรู้/สอบถามพฤติกรรมการบริโภคอาหาร ปัญหา/อุปสรรค 
3. หาแนวทางแก้ไขปัญหาร่วมกับผู้ป่วย เพื่อให้ผู้ป่วยได้มีส่วนร่วมในการ วิเคราะห์และแก้ไขปัญหา
    ด้วยตนเอง
4. ให้ผู้ป่วยฝึกวางแผนการบริโภคอาหารที่เหมาะสมจากปัญหาที่พบด้วยตนเอง 
5. กำหนดเป้าหมายการควบคุม 
ครั้งที่ 3
1. ติดตามและประเมินผลร่วมกับผู้ป่วย จากผลตรวจระดับน้ำตาลในเลือด (Fasting blood sugar: FBS) หลังการทดลอง
2. พูดคุยถึงปัญหา อุปสรรค และแนวทางการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมควบคุมอาหารแบบยั่งยืน

ผลการวิจัย 
จากการศึกษาพบว่า กลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยของค่าระดับน้ำตาลในเลือด(Fasting blood sugar: FBS) ก่อนการทดลอง เท่ากับ 230.71 mg/dl หลังการทดลองมีค่าระดับน้ำตาลในเลือด(Fasting blood sugar: FBS) ลดลง เป็น 197.07 mg/dl เมื่อเปรียบเทียบความแตกต่างทางสถิติพบว่า หลังการทดลองมีค่าระดับน้ำตาลในเลือด(Fasting blood sugar: FBS) ลดลงกว่าก่อนการทดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05 

สื่อการสอน 1

สื่อการสอน 2 

สื่อการสอน 3 

สื่อการสอน 4 


โดย นางสาวสุกัญญา  ขยันทำ  


Share:

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

หน้าเว็บ

javascript:;

ค้นหาบล็อกนี้

ขับเคลื่อนโดย Blogger.

ผู้ให้ข้อมูลร่วมกัน

คลังบทความของบล็อก

Recent Posts

Unordered List

Theme Support