วันที่ 19 - 20 พฤศจิกายน 2561 โรงพยาบาลเสนางคนิคมได้จัดอบรมเจ้าหน้าที่ในการเขียนผลงานวิชาการและCQI โดยได้เชิญอาจารย์ดร.ประเสริฐ ประสมรักษณ์ อาจารย์มหาวิทยาลัยมหิดล สาขาวิทยาเขตจังหวัดอำนาจเจริญ เป็นวิทยากรกระบวนการ โดยได้แบ่งกลุ่มทำ work shop จำนวน 8 กลุ่ม โดยผู้สนใจสามารถดาวน์โหลดเอกสารประกอบการอบรมได้ตามลิงค์
วันพฤหัสบดีที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561
วันจันทร์ที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561
การประเมินผลการดำเนินงานป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล
การประเมินผลการดำเนินงานป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพสังกัดสำนักงานสาธารณสุขอำเภอเสนางคนิคม จังหวัดอำนาจเจริญ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลการดำเนินงานป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลและศึกษาปัญหา อุปสรรคในการดำเนินงาน ประจำปีงบประมาณ 2561 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบงานควบคุมโรคในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จำนวน 8 แห่งๆ ละ 2 คน โดยใช้แบบสอบถาม แบ่งเป็น 6 ตอน ได้แก่ ตอนที่ 1 สอบถามข้อมูลทั่วไป ตอนที่ 2, 3, 4, 5 และตอนที่ 6 สอบถามเกี่ยวกับลักษณะพื้นที่การ ปฏิบัติงาน ทรัพยากรการบริหาร ขบวนการบริหารจัดการ ข้อมูลการดำเนินงานการป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออก ปีงบประมาณ 2561 และปัญหาอุปสรรครวมทั้งข้อเสนอแนะในการ ดำเนินงานป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออก ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน พบว่า 1) พื้นที่ปฏิบัติงานมีลักษณะดังนี้ สถานบริการส่วนใหญ่รับผิดชอบหมู่บ้าน จำนวน ระหว่าง 1 –5 หมู่บ้าน คิดเป็นร้อยละ 62.5 จำนวนประชากรในเขตรับผิดชอบ ระหว่าง 3,001–4,000 คน คิดเป็นร้อยละ 50.0 ที่ตั้งของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลส่วนใหญ่ตั้งอยู่นอกเขตเทศบาล คิดเป็น ร้อยละ 87.5 อยู่ห่างจากโรงพยาบาลชุมชน ตั้งแต่ 6–10 กิโลเมตร และ 11-15 กิโลเมตร คิดเป็นร้อยละ 50.0 ทรัพยากรการบริหารด้านกำลังคน การเงิน และวัสดุอุปกรณ์ มีความเพียงพอ ร้อยละ 25.0, 6.30 และ 87.50 ตามลำดับ กระบวนการด้านบริหารจัดการด้านการวางแผน การจัดองค์กร การบริหารงานบุคคล การอำนวยการ และการควบคุม อยู่ในระดับสูง ร้อยละ 97.59, 91.25, 89.58, 98.75 และ 95.83 ตามลำดับ 2) ผลการดำเนินงานป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก อยู่ในระดับดี ร้อยละ 62.5 และ ต้องปรับปรุง ร้อยละ 37.5 3)ปัญหาอุปสรรคการดำเนินงานป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล คือ บุคลากรมีน้อยไม่เพียงพอต่อการดำเนินงาน งบประมาณไม่เพียงพอและได้รับการสนับสนุนล่าช้า ปัจจัยด้านกระบวนการบริหารจัดการ พบว่า ขาดการติดตามประเมินผลอย่างต่อเนื่อง ขาดขวัญกำลังใจในการปฏิบัติงาน ปัญหาด้านอื่นๆ พบว่า ประชาชนขาดความตระหนักในการป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออก และสภาพแวดล้อมของหมู่บ้านที่รับผิดชอบ เช่น ความสะอาด บ้านอยู่ห่างกัน
ผลของคู่หูเบาหวานต่อการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวาน
ผลของคู่หูเบาหวานต่อการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวาน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล บ้านโป่งหิน ตำบลโพนทอง อำเภอเสนางคนิคม จังหวัดอำนาจเจริญ ปี 2561
ผู้ป่วยเบาหวานที่ไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ในขณะที่ผู้ป่วยส่วนใหญ่เป็นผู้สูงอายุ และอาศัยอยู่ตามลำพัง หรือเป็นผู้สูงอายุดูแลกันเอง ขาดผู้ดูแล ทำให้ผู้ป่วยมีพฤติกรรมสุขภาพไม่ถูกต้องควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้ ส่งผลให้มีภาวะแทรกซ้อนความรุนแรงของโรคมากขึ้น ทั้งนี้ การศึกษาที่ผ่านมาพบว่าการมีผู้ดูแลจะทำให้สามารถควบคุมระดับน้ำตาลได้ดี และในบริบทของชุมชนอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) มีบทบาทในการดูแลสุขภาพประชาชน ดังนั้น การวิจัยกึ่งทดลอง ครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานก่อนและหลังมีคู่หูเบาหวาน ในประชากร ผู้ป่วยเบาหวานในเขตโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล บ้านโป่งหิน ที่ขาดคนดูแล และมีระดับน้ำตาลในเลือดเกิน 130 mg % ในเดือน มกราคม 2560 จำนวน 25 คน โดยการดูแลด้วยคู่หูเบาหวาน ประกอบด้วย 1) คัดเลือก อสม. เพื่อจับคู่หู ดูแลผู้ป่วยเบาหวาน 2) จัดค่ายติวเข้มแบบคู่หูเบาหวานทั้งผู้ป่วยและคู่หูในด้านพฤติกรรมสุขภาพที่เหมาะสม 3) คู่หูเบาหวานออกติดตามผู้ป่วยตามแนวทาง (สัปดาห์แรก ติดตามทุกวัน, สัปดาห์ที่ 2 ติดตามวันเว้นวัน, สัปดาห์ที่ 3-4 ติดตามสัปดาห์ละ 1 ครั้ง และสัปดาห์ที่ 5 เป็นต้นไป ติดตามเดือนละ ครั้ง) 4) จัดแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทั้ง ผู้ป่วย และ คู่หู ประเมินความก้าวหน้าทุก 2 เดือน และ 5) มอบรางวัล ให้ผู้ป่วยและคู่หู ที่มีระดับน้ำตาลในเลือด ต่ำกว่า 130 mg % ในเดือน กันยายน 2560 และมอบเกียรติบัตร เป็นบุคคลต้นแก่ผู้ป่วย เก็บข้อมูลโดยใช้แบบบันทึกข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ผลการศึกษา พบว่าคู่หูส่วนใหญ่ เป็น เพศหญิงร้อยละ 88 อายุระหว่าง 31-59 ปี ร้อยละ 88 จบการศึกษา ระดับชั้นมัธยมศึกษา ร้อยละ 76 อาชีพเกษตรกรรมทุกคน ด้านกลุ่มผู้ป่วยเบาหวาน ส่วนใหญ่ เป็น เพศหญิงร้อยละ 72 อายุ 60 ปี ขึ้นไป ร้อยละ56 จบการศึกษา ระดับชั้นประถมศึกษา ร้อยละ 84 อาชีพเกษตรกรรม ร้อยละ 84 โดยก่อนการทดลองผู้ป่วยเบาหวานมีค่าเฉลี่ยระดับน้ำตาลในเลือด เท่ากับ 193 mg % (SD =57.41) ภายหลังได้รับการดูแลคู่หูเบาหวาน ทำให้ผู้ป่วยเบาหวานมีค่าเฉลี่ยของระดับน้ำตาลในเลือดลดลง เท่ากับ 153 mg % (SD. = 42.25) และมีผู้ป่วยที่มีค่าระดับน้ำตาลในเลือด ลดลง ร้อยละ 72 เท่าเดิม ร้อยละ 16 เพิ่มขึ้น ร้อยละ 12 และลดลงถึงระดับปกติ ร้อยละ16 สรุปได้ว่า การดูแลผู้ป่วยเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลไม่ได้โดยคู่หูเบาหวานส่งผลให้ผู้ป่วยสามารถควบคุมระดับน้ำตาลได้ดียิ่งขึ้น จึงควรนำไปขยายผลต่อในพื้นที่อื่นๆ ต่อไป
เส้นทางการกระจายยาอันตรายและยาปฏิชีวนะในร้านชำ
เส้นทางการกระจายยาอันตรายและยาปฏิชีวนะในร้านชำ
และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการจำหน่ายยาอันตรายและยาปฏิขีวนะในร้านขำ ชุมชนตำบลหนองไฮ
อำเภอเสนางคนิคม จังหวัดอำนาจเจริญ
สถานการณ์ปัญหาการซื้อยาทานเองของประชาชนในชุมชนตำบลหนองไฮยังคงเป็นปัญหาสำคัญ
จะเห็นจากที่พบผู้ป่วยที่เกิดอาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยา เช่น ดื้อยา แพ้ยา
แพ้ยาซ้ำ หรือการใช้ยาไม่เหมาะสมกับโรคหรือข้อห้ามใช้
และจากการสุ่มสำรวจร้านชำในพื้นที่ ปี 2560 จำนวน 40
พบว่ามีการขายยาอันตรายและยาปฏิชีวนะ จำนวน 25
ร้าน(ร้อยละ 62.5)
ดังนั้น การวิจัยเชิงสำรวจครั้งนี้
มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแหล่งต้นทางการกระจายยาอันตรายและยาปฏิชีวนะในร้านชำที่พบในชุมชนในพื้นที่
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหนองไฮ อำเภอเสนางคนิคม จังหวัดอำนาจเจริญ
กลุ่มตัวอย่างคือ ร้านชำทั้งหมดในเขตตำบลหนองไฮ จำนวน 59 ร้าน เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถามโดยผู้วิจัย
วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และสถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ Chi-square
test ผลการศึกษาพบว่า จำนวนร้านชำทั้งหมด
59 ร้าน พบว่า ส่วนใหญ่ไม่ขายยาอันตรายและยาปฏิชีวนะ จำนวน 37 ร้าน(ร้อยละ 62.71)
จำนวนร้านชำที่ขายยาอันตรายและยาปฏิชีวนะ มีจำนวน 22 ร้าน
(ร้อยละ 37.29) มีรายการยาที่ห้ามขายทั้งหมด 72 รายการ
แยกประเภทยา ได้แก่ ยาอันตรายและยาปฏิชีวนะ จำนวน 58 รายการ (ร้อยละ 80.55)
ยาแผนโบราณที่ห้ามขาย จำนวน 10 รายการ (ร้อยละ 13.89) ยาบรรจุเสร็จที่ห้ามขาย
จำนวน 1 รายการ (ร้อยละ 1.39) ยาชุด จำนวน 1 รายการ (ร้อยละ 1.39) และอื่นๆ จำนวน
2 รายการ (ร้อยละ 2.78) โดยแรงจูงใจในการจำหน่ายมาจากความต้องการผลกำไร
และความต้องการของชุมชนจำนวน 21 ร้าน (ร้อยละ 95.45) ทั้งนี้
แหล่งต้นทางการกระจายยา
มาจากร้านขายยาแผนปัจจุบันเฉพาะยาบรรจุเสร็จที่ไม่ใช่ยาอันตรายหรือยาควบคุมพิเศษ
จำนวน 19 ร้าน (ร้อยละ 86.36)
และจากรถเร่ซึ่งซื้อมาจากร้านขายยาแผนปัจจุบันเฉพาะยาบรรจุเสร็จที่ไม่ใช่ยาอันตรายหรือยาควบคุมพิเศษ
จำนวน 3 ร้าน (ร้อยละ 16.64)
โดยปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการจำหน่ายยาอันตรายและยาปฏิชีวนะในร้านชำอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ
0.05 ได้แก่ ความต้องการกำไร, ความต้องการของชุมชน ดังนั้น จึงควรมีระบบการจัดการต้นทางแหล่งกระจายโดยใช้มาตรการทางกฎหมายที่เข้มงวด
และสร้างความเข้าใจต่ออันตรายของการใช้อันตรายและยาปฏิชีวนะโดยไม่ได้อยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์และเภสัชกร
คำสำคัญ
เส้นทางการกระจายยา
ยาอันตราย ยาปฏิชีวนะ ร้านชำ
วันพฤหัสบดีที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561
ประสิทธิผลของเทคนิคการให้คำปรึกษาเสริมสร้างแรงจูงใจเฉพาะรายต่อการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่มีภาวะไตเรื้อรังระยะ 3
ประสิทธิผลของเทคนิคการให้คำปรึกษาเสริมสร้างแรงจูงใจเฉพาะรายต่อการควบคุม
ระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่มีภาวะไตเรื้อรังระยะ 3
ที่เข้ารับการรักษาที่คลินิกชะลอไตเสื่อมโรงพยาบาลเสนางคนิคม
การวิจัยครั้งเป็นการวิจัยกึ่งทดลอง เพื่อพัฒนาและศึกษาประสิทธิผลของเทคนิคการให้คำปรึกษาเสริมสร้างแรงจูงใจเฉพาะราย
ต่อการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่มีภาวะไตเรื้อรังระยะ 3 กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์ว่า เป็นผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ร่วมกับมีภาวะไตเรื้อรังระยะ 3 ที่มีผลระดับน้ำตาลในเลือด
FPG มากกว่า 150 มิลลิกรัมเดซิลิตร และได้รับการรักษาโดยวิธีการกินยา ที่คลินิกชะลอไตเสื่อม ในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2560 โรงพยาบาลเสนางคนิคม อำเภอเสนางคนิคม จังหวัดอำนาจเจริญ จำนวน 17 ราย ได้รับคำปรึกษาแบบเสริมสร้างแรงจูงใจเฉพาะรายบุคคล นาน 5-10 นาที
อย่างต่อเนื่อง จำนวน 4 ครั้งใน 6 เดือน มีการเก็บข้อมูลด้วยแบบบันทึกการสัมภาษณ์ ตามแนวทางปฏิบัติการให้คำแนะนำเพื่อเสริมสร้างแรงจูงใจในผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง
( Motivation Interviewingin NCDS) โดยการสนทนาให้คำปรึกษาแบบสั้น ( MI for NCD )
(อ้างในการวิจัยในโครงการพัฒนาระบบการให้คำปรึกษาแบบสร้างแรงจูงใจ ,เทิดศักดิ์ เดชคง , 2560)
วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณา ได้แก่
ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
และสถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ Paired-Simple t-test ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 70.59
ส่วนใหญ่อยู่ในช่วงอายุระหว่าง 60-69 ปี ร้อยละ 58.83 อายุที่น้อยที่สุด 59
ปี อายุมากที่สุด 77 ปี อายุเฉลี่ย 67.71 ปี ทั้งหมดนับถือศาสนาพุทธ ระดับการศึกษา
ส่วนใหญ่จบประถมศึกษา ร้อยละ 70.59
ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม ร้อยละ 47.06 มีรายได้ต่อเดือนต่ำกว่า 5,000 บาท ร้อยละ 70.59 และรายได้ส่วนใหญ่พอเพียงกับการดำรงชีวิตไม่มีเหลือเก็บ ส่วนใหญ่ใช้สิทธิ์การรักษาบัตรประกันสุขภาพถ้วนหน้า(สูงอายุ)
ร้อยละ 64.71 ระยะเวลาในการเป็นโรคเบาหวานมากที่สุดอยู่ในช่วง 11-15 ปี สูงสุดนาน 16 ปี ต่ำสุด 3 ปี เฉลี่ย 11.82 ปี จากการสัมภาษณ์เชิงลึกพบว่าผู้ป่วยส่วนใหญ่ให้ความสำคัญกับการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดโดยการควบคุมอาหาร ร้อยละ
70.59 ผู้ป่วยที่ได้รับการให้คำปรึกษาเสริมสร้างแรงจูงใจเฉพาะราย
มีค่าเฉลี่ยของระดับน้ำตาลในเลือด FPG ต่ำกว่าก่อนให้คำปรึกษาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ ระดับ 0.05(P<0.05) พบว่าผู้ป่วยสามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด
FPG ต่ำกว่า 130
มิลลิกรัมเดซิลิตร ในวันที่มาบริการครั้งที่
2 ร้อยละ 82.35 ครั้งที่ 3 ร้อยละ 88.23
ดังนั้นควรนำเทคนิคการให้คำปรึกษาแบบเสริมสร้างแรงจูงใจเฉพาะรายบุคคล
ไปใช้ส่งเสริมพฤติกรรมควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2
กล่อง “ปอด” โปร่ง โล่งใจ"
กล่อง “ปอด” โปร่ง โล่งใจ"
การใส่สายระบายทรวงอกขณะผู้ป่วยเคลื่อนไหวร่างกายและอุปกรณ์ที่ใช้รองรับขวดระบายของเหลวที่มีลักษณะเป็นขวดซึ่งลำบากต่อการเคลื่อนย้าย
เป็นปัจจัยที่ทำให้เกิดการเลื่อนหลุดของท่อระบายทรวงอกและขวดล้มแตก ซึ่งเกิดความผิดพลาดในการดูแลอยู่บ่อยครั้งในการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยขณะฉายรังสี
และส่งต่อ
วัตถุประสงค์เพื่อให้ลดภาวะเสี่ยงจากขวดระบายทรวงอกลมแตก
วิธีการพัฒนาสิ่งประดิษฐ์
การจัดเตรียมไม้อัด ขนาด 1 มม. และหูหิ้วพลาสติกชนิดแข็ง ออกแบบขนาดกล่องใส่ขวดระบายของเหลว
3 ขนาด คือ
1)
กล่องขนาดใส่แบบ 1 ขวด กว้าง 18 ซม. ยาว 18 ซม. สูง 18 ซม.
เจาะวงกลมสำหรับใส่ขวดด้านบน 1 ช่อง และด้านข้างเพื่อดูสิ่งคัดหลั่ง 1 ช่อง
มีเส้นผ่าศูนย์กลาง 10 ซม.
2)
ขนาดใส่แบบ 2 ขวด กว้าง 18 ซม. ยาว 32 ซม. สูง 18 ซม. เจาะวงกลมสำหรับใส่ขวดด้านบน
2 ช่อง และด้านข้างเพื่อดูสิ่งคัดหลั่ง 2 ช่อง มีเส้นผ่าศูนย์กลาง 10 ซม.
3)
ขนาดใส่แบบ 3 ขวด กว้าง 18 ซม. ยาว 50 ซม. สูง 18 ซม. เจาะวงกลมสำหรับใส่ขวดด้านบน
3 ช่อง และด้านข้างเพื่อดูสิ่งคัดหลั่ง 3 ช่อง มีเส้นผ่าศูนย์กลาง 10 ซม.
แต่ละแบบใส่หูหิ้วเพื่อสะดวกในการเคลื่อนย้ายกล่อง
ผลการทดสอบการใช้งาน
กล่อง “ปอด” โปร่ง โล่งใจ ในปี พ.ศ.
2559-2560 ไมพบอุบัติการณการลมแตกของขวดระบายทรวงอก การนำไปใช้การวางขวดระบายทรวงในกล่องที่ ทําใหมองเห็นปริมาณของน้ำและสารคัดหลั่งได้และปองกันขวดลมและแตกได
มีความคงทนแข็งแรง นํ้าหนักเบา สามารถหิ้วเวลาเคลื่อนยายผูปวยไดสะดวก
วันอังคารที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561
ผลงานเด่นและความภาคภูมิใจ : กรณีพลิกวิกฤติให้เป็นโอกาส การดำเนินงานแก้ไขปัญหาด้านงานคุ้มครองผู้บริโภคตำบลหนองไฮ
อำเภอเสนางคนิคม
ได้รับหนังสือแจ้งขอร้องเรียนให้ตรวจสอบเฝ้าระวังผลิตภัณฑ์สุขภาพในพื้นที่ตำบลหนองไฮ
2 ครั้ง ด้วยกันคือ
วันที่
25 เมษายน 2560 ได้รับเรื่องร้องเรียนจากอำเภอปทุมราชวงศา จังหวัดอำนาจเจริญ
วันที่16
มิถุนายน 2560 ได้รับเรื่องร้องเรียนจำอำเภอดอกคำใต้ จังหวัดพะเยา
เหตุการณ์ทั้งสองคล้ายกันคือพบว่ามีประชาชนจากพื้นที่ตำบลหนองไฮ
แอบอ้างเร่ขายสินค้า OTOP ตำบลหนองไฮ และมีผลิตภัณฑ์อื่นๆปะปนขาย
โดยเป็นยาและผลิตภัณฑ์อาหารที่ไม่มีเลขทะเบียน ทั้งยาแผนปัจจุบัน และแผนโบราณ
โดยพื้นที่อำเภอดอกคำใต้ได้มีการจับกุมและตั้งข้อหา 3 ข้อหาด้วยกันคือขายยาปลอม ขายยาแผนโบราณโดยไม่ได้รับอนุญาต
และขายยาที่ไม่ได้ขึ้นทะเบียนตำรับยา โดยเรื่องอยู่ในระหว่างส่งฟ้องศาลเพื่อพิจารณาคดี
เหตุการณ์ดังกล่าวได้สร้างความเสื่อมเสียชื่อเสียงต่อผลิตภัณฑ์ OTOP ของแท้ของตำบลหนองไฮเป็นอย่างมาก
ภาพประกอบการจับกุมที่ พะเยา |
ภาพประกอบการจับกุมที่ พะเยา |
เมื่อได้รับข้อร้องเรียนดังกล่าว สาธารณสุขอำเภอเสนางคนิคมได้ประสานกับเภสัชกรผู้รับผิดชอบงานคุ้มครองผู้บริโภคเพื่อวางแผนดำเนินการและตรวจสอบข้อมูลข้อเท็จจริงกับพื้นที่ที่แจ้งเรื่องร้องเรียนทั้ง
2 ครั้ง และให้พื้นที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหนองไฮลงหาข้อมูลเพิ่มเติม
ซึ่งพบว่ากลุ่มที่ออกเร่ขายสินค้านอกพื้นที่มีหลายกลุ่ม มีทั้งนำสินค้า OTOP หนองไฮไปจำหน่ายจริง
และกลุ่มที่ไปซื้อผลิตภัณฑ์ตามตลาดนัดไปขายและมีการทำมานานหลายปีแล้ว
จากนั้นวันที่ 19 มิถุนายน 2560 ทีมจึงได้ลงพื้นที่พบกำนันตำบลหนองไฮเพื่อแจ้งข้อร้องเรียนและปัญหาที่เกิดขึ้น
พร้องขอความร่วมมือให้กำนันแจ้งต่อผู้ใหญ่บ้านให้ช่วยประชาสัมพันธ์เสียงตามสายแจ้งลูกบ้านให้ยุติการกระทำดังกล่าวเพราะเป็นเรื่องที่ผิดกฎหมายและทำให้เสื่อมเสียชื่อเสียงชาวตำบลหนองไฮอย่างยิ่ง
ลงพื้นที่พบกำนันตำบลหนองไฮเพื่อร่วมปรึกษาหาแนวทางแก้ไข |
ลงพื้นที่พบกำนันตำบลหนองไฮเพื่อร่วมปรึกษาหาแนวทางแก้ไข |
จากนั้น สาธารณสุขอำเภอเสนางคนิคมโดยนายทศพงศ์
บุญพุฒ ได้นำเรียนปัญหาที่พบและผลการหาแนวทางแก้ไขปัญหาร่วมกับกำนันสมสมัย อุณาภาค
ตำบลหนองไฮ ต่อท่านนายอำเภอเสนางคนิคม และได้รับโอกาสให้ไปแจ้งและขยายผลการจัดการปัญหาเรื่องร้องเรียนตำบลหนองไฮ
สู่ที่ประชุมกำนันผู้ใหญ่บ้าน ฯลฯ หัวหน้าส่วนราชการอำเภอเสนางคนิคม เมื่อวันที่ 3
กรกฏาคม 2560
รวมทั้งขอความร่วมมือกำนันผู้ใหญ่บ้านให้ช่วยกำกับดูแลลูกบ้านไม่ให้ทำผิดตาม
พรบ.ยา รวมทั้งชี้แจงกฎหมายการปกครองส่วนท้องถิ่นเชื่อมโยงงานคุ้มครองผู้บริโภค
นวัตกรรม 5 ปุ่มก้นขวดนวดลดอาการมึนชาฝ่าเท้าผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2
โรงพยาบาลเสนางคนิคม มีผู้ป่วยเบาหวานที่มีอาการปวดมึนชาฝ่าเท้าและมีความต้องการยาลดอาการปวดมึนชาเท้าเพิ่มขึ้นจึงได้นำกะลาปูนนวดเท้ามาให้บริการสำหรับผู้ป่วย แต่มีข้อจำกัดที่สามารถทำได้ในวันที่มารับบริการที่คลินิกเดือนละ ๑ ครั้งซึ่งไม่เพียงพอต่อการลดอาการชา ดังนั้น จึงมีแนวคิดที่จะพัฒนานวัตกรรมนวดเท้าสำหรับผู้ป่วยที่สามารถนำไปใช้ต่อที่บ้านซึ่งประยุกต์ใช้นวัตกรรม“๕ปุ่มก้นขวดนวดเท้าผู้ป่วยเบาหวาน” ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลฝั่งแดง อำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม มาใช้แต่มีปัญหาในเรื่องความไม่แข็งแรงของนวัตกรรมดังนั้นการวิจัยกึ่งทดลอง ครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการบำบัดเท้าด้วย นวัตกรรม “๕ ปุ่มก้นขวดนวดลดอาการมึนชาฝ่าเท้าผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ ๒” ต่ออาการชาเท้าผู้ป่วยเบาหวาน ในโรงพยาบาลเสนางคนิคม อำเภอเสนางคนิคม จังหวัดอำนาจเจริญในกลุ่มผู้ป่วยเบาหวานชนิด ๒ ที่มีอาการชาเท้าจากการทดสอบด้วย Monofilament (ขนาด ๑๐ กรัม) ระดับ Moderate ที่มารับบริการระหว่างเดือนกรกฎาคม ๒๕๖๐ ถึง เดือนกุมภาพันธ์ ๒๕๖๑ รูปแบบการดำเนินงานประกอบด้วย ๑) พัฒนานวัตกรรม ๕ ปุ่มก้นขวดนวดลดอาการมึนชาฝ่าเท้า และจัดทำคู่มือการใช้งานนำไปใช้กับผู้ป่วย ๒) สาธิตการใช้นวัตกรรมและอธิบายการใช้คู่มือ ๓) มอบนวัตกรรมกลับไปบำบัดที่บ้านให้ผู้ป่วยบำบัดอาการชาเท้าโดยการเหยียบ ๕ ปุ่มก้นขวดนวดลดอาการมึนชาฝ่าเท้า ทำเช้า – เย็น ครั้งละ ๑๕ นาที ทำต่อเนื่อง ๑ เดือน โดยมี อสม.ออกสุ่มตรวจตามบ้าน ๔) นัดมาตรวจอาการชาที่เท้า โดยมีนักกายภาพบำบัดเป็นผู้ตรวจทุกสัปดาห์ เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบบันทึกโดยผู้วิจัย วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปคอมพิวเตอร์ โดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ผลการศึกษา พบว่า
กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ ๘๓.๓ มีอายุ ๕๙.๙ ปี (SD = ๑๒.๑๓) สถานะภาพสมรส ร้อยละ ๗๐ จบการศึกษาระดับประถมศึกษา ร้อยละ ๙๓.๓ ประกอบอาชีพทำไร่/ทำสวน ร้อยละ ๘๖.๗ โรคประจำตัวแทรกที่พบมากที่สุดเป็นโรคความดันโลหิตสูง ร้อยละ ๔๓.๓ ระยะเวลาที่เป็นโรคเบาหวาน = ๒๓.๑๔ ปี (SD= ๔.๘๕) , ค่าเฉลี่ยระดับน้ำตาล ๒๑๕.๒๕ mg/dL(SD= ๓๖.๑๗) ภายหลังการได้รับการดูแลด้วยนวัตกรรมทำให้ผู้ป่วยเบาหวานมีอาการมึนชาฝ่าเท้าหาย จำนวน ๑๗ คน คิดเป็นร้อยละ ๕๖.๗ อาการมึนชาฝ่าเท้าลดลง จำนวน ๑๓ คน คิดเป็นร้อยละ ๔๓.๓ ผู้ป่วยความพึงพอใจต่อการใช้นวัตกรรมภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก (= ๔.๒๓ (SD=.๖๘))
สรุปได้ว่า นวัตกรรม “๕ ปุ่มก้นขวดนวดลดอาการมึนชาฝ่าเท้าผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ ๒”สามารถลดอาการชาเท้าในผู้ป่วยเบาหวานได้ นวัตกรรมมีความแข็งแรงปลอดภัยและการเพิ่มระยะเวลาในการเหยียบบำบัดยังทำให้อาการชาเท้าลดลงมากขึ้น จึงควรนำมาใช้เป็นแนวทางการป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนที่เท้า การเกิดแผลที่เท้าให้กับผู้ป่วยเบาหวานต่อไป