วันจันทร์ที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561

การประเมินผลการดำเนินงานป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล


การประเมินผลการดำเนินงานป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพสังกัดสำนักงานสาธารณสุขอำเภอเสนางคนิคม  จังหวัดอำนาจเจริญ 

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลการดำเนินงานป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลและศึกษาปัญหา อุปสรรคในการดำเนินงาน ประจำปีงบประมาณ 2561 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบงานควบคุมโรคในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จำนวน 8 แห่งๆ ละ 2 คน โดยใช้แบบสอบถาม แบ่งเป็น 6 ตอน ได้แก่ ตอนที่ 1 สอบถามข้อมูลทั่วไป ตอนที่ 2, 3, 4, 5 และตอนที่ 6 สอบถามเกี่ยวกับลักษณะพื้นที่การ ปฏิบัติงาน ทรัพยากรการบริหาร ขบวนการบริหารจัดการ ข้อมูลการดำเนินงานการป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออก ปีงบประมาณ 2561 และปัญหาอุปสรรครวมทั้งข้อเสนอแนะในการ ดำเนินงานป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออก ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน พบว่า 1) พื้นที่ปฏิบัติงานมีลักษณะดังนี้ สถานบริการส่วนใหญ่รับผิดชอบหมู่บ้าน จำนวน ระหว่าง 1 –5 หมู่บ้าน คิดเป็นร้อยละ 62.5 จำนวนประชากรในเขตรับผิดชอบ ระหว่าง 3,001–4,000 คน คิดเป็นร้อยละ 50.0 ที่ตั้งของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลส่วนใหญ่ตั้งอยู่นอกเขตเทศบาล คิดเป็น ร้อยละ 87.5 อยู่ห่างจากโรงพยาบาลชุมชน ตั้งแต่ 6–10 กิโลเมตร และ 11-15 กิโลเมตร คิดเป็นร้อยละ 50.0 ทรัพยากรการบริหารด้านกำลังคน การเงิน และวัสดุอุปกรณ์ มีความเพียงพอ ร้อยละ 25.0, 6.30 และ 87.50 ตามลำดับ กระบวนการด้านบริหารจัดการด้านการวางแผน การจัดองค์กร การบริหารงานบุคคล การอำนวยการ และการควบคุม อยู่ในระดับสูง ร้อยละ 97.59, 91.25, 89.58, 98.75 และ 95.83 ตามลำดับ  2) ผลการดำเนินงานป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก อยู่ในระดับดี ร้อยละ 62.5 และ ต้องปรับปรุง ร้อยละ 37.5  3)ปัญหาอุปสรรคการดำเนินงานป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล คือ บุคลากรมีน้อยไม่เพียงพอต่อการดำเนินงาน งบประมาณไม่เพียงพอและได้รับการสนับสนุนล่าช้า ปัจจัยด้านกระบวนการบริหารจัดการ พบว่า ขาดการติดตามประเมินผลอย่างต่อเนื่อง ขาดขวัญกำลังใจในการปฏิบัติงาน ปัญหาด้านอื่นๆ พบว่า ประชาชนขาดความตระหนักในการป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออก และสภาพแวดล้อมของหมู่บ้านที่รับผิดชอบ เช่น ความสะอาด บ้านอยู่ห่างกัน
Share:

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

หน้าเว็บ

javascript:;

ค้นหาบล็อกนี้

ขับเคลื่อนโดย Blogger.

ผู้ให้ข้อมูลร่วมกัน

HA National Forum ครั้งที่ 24

 งานประชุมวิชาการ HA National Forum ครั้งที่ 24 มีประเด็นสำคัญ คือ การใช้แนวคิด "Growth Mindset for Better Healthcare System" มากร...

คลังบทความของบล็อก

Recent Posts

Unordered List

Theme Support