วิสัยทัศน์

โรงพยาบาลชุมชนมาตรฐาน บริการแบบองค์รวม ร่วมสร้างสุขบุคคลากร

MOPH

M Mastery เป็นนายตัวเอง

MOPH

O Originality เร่งสร้างสิ่งใหม่

MOPH

P People Centered ใส่ใจประชาชน

MOPH

Humility ถ่อมตน อ่อนน้อม

วันพุธที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564

การศึกษาสภาพอากาศที่มีผลต่อการวัดอุณหภูมิร่างกาย

 

การศึกษาสภาพอากาศที่มีผลต่อการวัดอุณหภูมิร่างกาย   โดยใช้เครื่องวัดอุณหภูมิแบบอินฟราเรด สำหรับผู้มารับบริการในโรงพยาบาลเสนางคนิคมในช่วงมีการระบาดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID19)

 

ณัฏฐ์ทิตา  สุภิวงค์ และคณะ

โรงพยาบาลเสนางคนิคม อำเภอเสนางคนิคม  จังหวัดอำนาจเจริญ

 

บทคัดย่อ

เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID19) โรงพยาบาลเสนางคนิคมให้กลุ่มงานแพทย์แผนไทยเป็นผู้คัดกรองผู้ป่วยที่มารับบริการในช่วงมีการระบาดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 โดยการวัดอุณหภูมิร่างกาย ซักประวัติแยกผู้ป่วยระบบทางเดินหายใจและมีไข้ ได้พบปัญหาในเรื่องการวัดอุณหภูมิร่างกายที่ใช้เครื่องวัดอุณหภูมิแบบอินฟราเรดอุณหภูมิร่างกายผิดปกติเมื่อสภาพอากาศร้อนหรือเย็นเกินไป ดังนั้น จึงมีแนวคิดที่จะศึกษาสภาพอากาศที่มีผลต่อการวัดอุณหภูมิร่างกายโดยใช้เครื่องวัดอุณหภูมิแบบอินฟราเรดสำหรับผู้มารับบริการในโรงพยาบาลเสนางคนิคม ช่วงมีการระบาดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ดังนั้นการวิจัยเชิงพรรณนาแบบตัดขวาง ครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพอากาศอุณหภูมิภายนอกต่อการวัดอุณหภูมิร่างกายโดยใช้เครื่องวัดอุณหภูมิแบบอินฟราเรด (Infrared Thermometer)  สำหรับผู้มารับบริการในโรงพยาบาลเสนางคนิคม ช่วงมีการระบาดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID19) ที่มารับบริการจุดคัดกรองระหว่างเดือนเมษายน ๒๕๖๓ ถึง เดือนมิถุนายน ๒๕๖๓ จำนวน 1,250 ครั้ง รูปแบบการดำเนินงานประกอบด้วย 1) คณะผู้วิจัยประชุมวางแผนการดำเนินงานวิจัย  แบ่งหน้าที่รับผิดชอบ 2) จัดเตรียมหาเครื่องมือวิจัย ได้แก่ เครื่องวัดอุณหภูมิร่างกายแบบอินฟราเรด (Infrared Thermometer)  เครื่องวัดอุณหภูมิภายนอก ( Thermometer) แบบบันทึกข้อมูล 3) คัดกรองผู้ที่เข้ามารับบริการที่โรงพยาบาลเสนางคนิคม โดยการซักประวัติ  การล้างมือ วัดอุณหภูมิร่างกายโดยใช้เครื่องวัดอุณหภูมิแบบอินฟราเรด ระยะห่างจากหน้าผาก 3-5 เซนติเมตร 4) นำข้อมูลที่ได้จากการวัดอุณหภูมิมาแปลผลด้วยโปรแกรมวิเคราะห์ข้อมูล SPSS เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบบันทึกโดยผู้วิจัย วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปคอมพิวเตอร์ โดยใช้สถิติเชิงพรรณนา  ผลการศึกษา พบว่า กลุ่มตัวอย่างเพศหญิงวัยกลางคน มีอายุ  50.43  ปี (SD = 7.13) ส่วนใหญ่มีสถานะภาพสมรส ร้อยละ 74 จบการศึกษาระดับประถมศึกษา ร้อยละ 76 ประกอบอาชีพทำไร่/ทำสวน ร้อยละ 56 โรคประจำตัวแทรกที่พบมากที่สุดมากกว่าหนึ่งโรค/โรคทั่วไป ร้อยละ 38 ผู้มารับบริการจุดคัดกรองที่อุณหภูมิร่างกายผิดปกติเมื่ออุณหภูมิภายนอก ระดับ 39 – 40 °C จำนวน 228 ครั้ง คิดเป็นร้อยละ 18.24 และอุณหภูมิภายนอก ระดับ 21–23 °C จำนวน 209 ครั้ง คิดเป็นร้อยละ 16.72 (SD = 27.46)

ผลการวิจัยครั้งนี้สรุปได้ว่า อุณหภูมิภายนอกมีผลต่อการวัดอุณหภูมิร่างกายเมื่อใช้เครื่องวัดอุณหภูมิร่างกายแบบอินฟราเรด ผลการวิจัยสามารถนำมาใช้เป็นแนวทางการคัดกรองอุณหภูมิผู้มารับบริการเพื่อให้การวัดอุณหภูมิร่างกายให้มีความแม่นยำมากยิ่งขึ้น

 

คำสำคัญ : สภาพอากาศ, เครื่องวัดอุณหภูมิแบบอินฟราเรด, เชื้อไวรัสโคโรนา 2019

Share:

หน้าเว็บ

javascript:;

ค้นหาบล็อกนี้

ขับเคลื่อนโดย Blogger.

ผู้ให้ข้อมูลร่วมกัน

HA National Forum ครั้งที่ 24

 งานประชุมวิชาการ HA National Forum ครั้งที่ 24 มีประเด็นสำคัญ คือ การใช้แนวคิด "Growth Mindset for Better Healthcare System" มากร...

Recent Posts

Unordered List

Theme Support