วันจันทร์ที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561

ผลของการให้คำปรึกษาด้านโภชนาการรายบุคคลแบบมีส่วนร่วม ในกลุ่มผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่2 ที่มีระดับน้ำตาลอยู่ในช่วงสีแดงจากปิงปองจราจร 7 สี

ผลของการให้คำปรึกษาด้านโภชนาการรายบุคคลแบบมีส่วนร่วม
 ในกลุ่มผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่2 ที่มีระดับน้ำตาลอยู่ในช่วงสีแดงจากปิงปองจราจร 7 สี 

    ในปี 2560 มีผู้ป่วยเบาหวานที่มารับบริการที่โรงพยาบาลเสนางคนิคมที่ไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ มีระดับน้ำตาลอยู่ในช่วงสีแดงจากปิงปองจราจร 7 สี และส่งพบนักโภชนาการเนื่องจากเป็นผู้ป่วยที่มีปัญหาในการควบคุมอาหารเป็นหลัก เพื่อให้คำปรึกษาปัญหาโภชนาการรายบุคคล จำนวน 782 ราย และมีแนวโน้มจะเพิ่มมากขึ้นในปี 2561 เนื่องจาก ตั้งแต่เดือน ตุลาคม 2560 ถึง มกราคม 2561 มีผู้ป่วยเบาหวานที่มารับบริการที่โรงพยาบาลเสนางคนิคม ที่ไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ มีระดับน้ำตาลอยู่ในช่วงสีแดงจากปิงปองจราจร 7 สี และส่งพบนักโภชนาการเนื่องจากเป็นผู้ป่วยที่มีปัญหาในการควบคุมอาหาร มีจำนวนมากถึง 356 ราย คิดเป็น ร้อยละ 45.52 ของปี 2560 ในระยะเวลา 4 เดือน จากที่มาและความสำคัญดังกล่าว ผู้วิจัยจึงได้คิดรูปแบบของการให้คำปรึกษาด้านโภชนาการในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่มีระดับน้ำตาลอยู่ในช่วงสีแดงจากปิงปองจราจร 7 สี ในโรงพยาบาลเสนาง คนิคม ในรายที่มีปัญหาการควบคุมอาหารไม่ได้ เพื่อนำผลการศึกษามาพัฒนารูปแบบการให้คำปรึกษาด้านโภชนาการในผู้ป่วยเบาหวานที่มารับบริการในโรงพยาบาลเสนางคนิคมเพื่อให้ผู้ป่วยสามารถนำไปเป็นแนวทางปฏิบัติเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหารได้อย่างถูกต้องเพื่อชะลอภาวะแทรกซ้อนต่างๆได้

วัตถุประสงค์การวิจัย 
เพื่อศึกษาผลของการให้คำปรึกษาด้านโภชนาการรายบุคคลแบบมีส่วนร่วมในกลุ่มผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่2 ที่มีระดับน้ำตาลอยู่ในช่วงสีแดงจากปิงปองจราจร 7 สี ในโรงพยาบาลเสนางคนิคม ประชากรและ

กลุ่มตัวอย่าง

ประชากรที่ศึกษา คือผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์ว่าเป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ที่มารับ
บริการที่คลินิกเบาหวาน โรงพยาบาลเสนางคนิคม  จำนวน 86  คน สุ่มเลือกโดยมีเกณฑ์คัดเข้าและคัดออก ดังนี้

เกณฑ์คัดเข้า

1. เป็นผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์ว่าเป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2

2.  ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ไม่ดี ที่มีระดับน้ำตาลอยู่ในช่วงสีแดงจากปิงปองจราจร 7 สี (Fasting

     blood sugar  ≥182 mg/dl)  จำนวน 2 ครั้งติดต่อกัน

3. เป็นผู้ที่มีปัญหาการควบคุมอาหาร

เกณฑ์คัดออก

1.  มีภาวะแทรกซ้อน หรือโรคที่เป็นอุปสรรคต่อการเข้าร่วมการวิจัยเช่น โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง   โรคไตระยะ 4-5 เป็นต้น

ขั้นตอนการวิจัย
ครั้งที่ 1
1. สัมภาษณ์ข้อมูลทั่วไป
2. บันทึกผลตรวจระดับน้ำตาลในเลือด (Fasting blood sugar: FBS) ก่อนการทดลอง
3. สอบถามพฤติกรรมการบริโภคอาหาร
4. ค้นหาปัญหาร่วมกับผู้ป่วย
5. ให้ความรู้เกี่ยวกับผลดีของการควบคุมอาหารและผลเสียของการไม่ควบคุมอาหาร
6. ให้คำปรึกษาและวางแผนการบริโภคอาหารที่เหมาะสมกับความต้องการของร่างกาย โดยการ 
   เสริมสร้างแรงจูงใจ ให้กำลังใจ และให้ผู้ป่วยมีส่วนร่วมในการกำหนดเป้าหมายการควบคุมด้วยตนเอง
7. บันทึกปัญหาและเป้าหมายลงในสมุดคู่มือเบาหวาน
8. ให้สื่อแผ่นพับ ตัวอย่างอาหาร/เครื่องดื่ม และใบกำหนดอาหารเพื่อ
ครั้งที่ 2
1. บันทึกผลตรวจระดับน้ำตาลในเลือด (Fasting blood sugar: FBS)
2. ติดตาม ทบทวนความรู้/สอบถามพฤติกรรมการบริโภคอาหาร ปัญหา/อุปสรรค 
3. หาแนวทางแก้ไขปัญหาร่วมกับผู้ป่วย เพื่อให้ผู้ป่วยได้มีส่วนร่วมในการ วิเคราะห์และแก้ไขปัญหา
    ด้วยตนเอง
4. ให้ผู้ป่วยฝึกวางแผนการบริโภคอาหารที่เหมาะสมจากปัญหาที่พบด้วยตนเอง 
5. กำหนดเป้าหมายการควบคุม 
ครั้งที่ 3
1. ติดตามและประเมินผลร่วมกับผู้ป่วย จากผลตรวจระดับน้ำตาลในเลือด (Fasting blood sugar: FBS) หลังการทดลอง
2. พูดคุยถึงปัญหา อุปสรรค และแนวทางการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมควบคุมอาหารแบบยั่งยืน

ผลการวิจัย 
จากการศึกษาพบว่า กลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยของค่าระดับน้ำตาลในเลือด(Fasting blood sugar: FBS) ก่อนการทดลอง เท่ากับ 230.71 mg/dl หลังการทดลองมีค่าระดับน้ำตาลในเลือด(Fasting blood sugar: FBS) ลดลง เป็น 197.07 mg/dl เมื่อเปรียบเทียบความแตกต่างทางสถิติพบว่า หลังการทดลองมีค่าระดับน้ำตาลในเลือด(Fasting blood sugar: FBS) ลดลงกว่าก่อนการทดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05 

สื่อการสอน 1

สื่อการสอน 2 

สื่อการสอน 3 

สื่อการสอน 4 


โดย นางสาวสุกัญญา  ขยันทำ  


Share:

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

หน้าเว็บ

javascript:;

ค้นหาบล็อกนี้

ขับเคลื่อนโดย Blogger.

ผู้ให้ข้อมูลร่วมกัน

HA National Forum ครั้งที่ 24

 งานประชุมวิชาการ HA National Forum ครั้งที่ 24 มีประเด็นสำคัญ คือ การใช้แนวคิด "Growth Mindset for Better Healthcare System" มากร...

คลังบทความของบล็อก

Recent Posts

Unordered List

Theme Support