วิสัยทัศน์

โรงพยาบาลชุมชนมาตรฐาน บริการแบบองค์รวม ร่วมสร้างสุขบุคคลากร

MOPH

M Mastery เป็นนายตัวเอง

MOPH

O Originality เร่งสร้างสิ่งใหม่

MOPH

P People Centered ใส่ใจประชาชน

MOPH

Humility ถ่อมตน อ่อนน้อม

วันพุธที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564

การศึกษาสภาพอากาศที่มีผลต่อการวัดอุณหภูมิร่างกาย

 

การศึกษาสภาพอากาศที่มีผลต่อการวัดอุณหภูมิร่างกาย   โดยใช้เครื่องวัดอุณหภูมิแบบอินฟราเรด สำหรับผู้มารับบริการในโรงพยาบาลเสนางคนิคมในช่วงมีการระบาดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID19)

 

ณัฏฐ์ทิตา  สุภิวงค์ และคณะ

โรงพยาบาลเสนางคนิคม อำเภอเสนางคนิคม  จังหวัดอำนาจเจริญ

 

บทคัดย่อ

เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID19) โรงพยาบาลเสนางคนิคมให้กลุ่มงานแพทย์แผนไทยเป็นผู้คัดกรองผู้ป่วยที่มารับบริการในช่วงมีการระบาดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 โดยการวัดอุณหภูมิร่างกาย ซักประวัติแยกผู้ป่วยระบบทางเดินหายใจและมีไข้ ได้พบปัญหาในเรื่องการวัดอุณหภูมิร่างกายที่ใช้เครื่องวัดอุณหภูมิแบบอินฟราเรดอุณหภูมิร่างกายผิดปกติเมื่อสภาพอากาศร้อนหรือเย็นเกินไป ดังนั้น จึงมีแนวคิดที่จะศึกษาสภาพอากาศที่มีผลต่อการวัดอุณหภูมิร่างกายโดยใช้เครื่องวัดอุณหภูมิแบบอินฟราเรดสำหรับผู้มารับบริการในโรงพยาบาลเสนางคนิคม ช่วงมีการระบาดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ดังนั้นการวิจัยเชิงพรรณนาแบบตัดขวาง ครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพอากาศอุณหภูมิภายนอกต่อการวัดอุณหภูมิร่างกายโดยใช้เครื่องวัดอุณหภูมิแบบอินฟราเรด (Infrared Thermometer)  สำหรับผู้มารับบริการในโรงพยาบาลเสนางคนิคม ช่วงมีการระบาดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID19) ที่มารับบริการจุดคัดกรองระหว่างเดือนเมษายน ๒๕๖๓ ถึง เดือนมิถุนายน ๒๕๖๓ จำนวน 1,250 ครั้ง รูปแบบการดำเนินงานประกอบด้วย 1) คณะผู้วิจัยประชุมวางแผนการดำเนินงานวิจัย  แบ่งหน้าที่รับผิดชอบ 2) จัดเตรียมหาเครื่องมือวิจัย ได้แก่ เครื่องวัดอุณหภูมิร่างกายแบบอินฟราเรด (Infrared Thermometer)  เครื่องวัดอุณหภูมิภายนอก ( Thermometer) แบบบันทึกข้อมูล 3) คัดกรองผู้ที่เข้ามารับบริการที่โรงพยาบาลเสนางคนิคม โดยการซักประวัติ  การล้างมือ วัดอุณหภูมิร่างกายโดยใช้เครื่องวัดอุณหภูมิแบบอินฟราเรด ระยะห่างจากหน้าผาก 3-5 เซนติเมตร 4) นำข้อมูลที่ได้จากการวัดอุณหภูมิมาแปลผลด้วยโปรแกรมวิเคราะห์ข้อมูล SPSS เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบบันทึกโดยผู้วิจัย วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปคอมพิวเตอร์ โดยใช้สถิติเชิงพรรณนา  ผลการศึกษา พบว่า กลุ่มตัวอย่างเพศหญิงวัยกลางคน มีอายุ  50.43  ปี (SD = 7.13) ส่วนใหญ่มีสถานะภาพสมรส ร้อยละ 74 จบการศึกษาระดับประถมศึกษา ร้อยละ 76 ประกอบอาชีพทำไร่/ทำสวน ร้อยละ 56 โรคประจำตัวแทรกที่พบมากที่สุดมากกว่าหนึ่งโรค/โรคทั่วไป ร้อยละ 38 ผู้มารับบริการจุดคัดกรองที่อุณหภูมิร่างกายผิดปกติเมื่ออุณหภูมิภายนอก ระดับ 39 – 40 °C จำนวน 228 ครั้ง คิดเป็นร้อยละ 18.24 และอุณหภูมิภายนอก ระดับ 21–23 °C จำนวน 209 ครั้ง คิดเป็นร้อยละ 16.72 (SD = 27.46)

ผลการวิจัยครั้งนี้สรุปได้ว่า อุณหภูมิภายนอกมีผลต่อการวัดอุณหภูมิร่างกายเมื่อใช้เครื่องวัดอุณหภูมิร่างกายแบบอินฟราเรด ผลการวิจัยสามารถนำมาใช้เป็นแนวทางการคัดกรองอุณหภูมิผู้มารับบริการเพื่อให้การวัดอุณหภูมิร่างกายให้มีความแม่นยำมากยิ่งขึ้น

 

คำสำคัญ : สภาพอากาศ, เครื่องวัดอุณหภูมิแบบอินฟราเรด, เชื้อไวรัสโคโรนา 2019

Share:

หน้าเว็บ

javascript:;

ค้นหาบล็อกนี้

ขับเคลื่อนโดย Blogger.

ผู้ให้ข้อมูลร่วมกัน

ประกวดวิชาการจังหวัดอำนาจเจริญ ปีงบประมาณ 2567

 ประกวดวิชาการจังหวัดอำนาจเจริญ ปีงบประมาณ 2567  ผลการประกวด   ชนะเลิศร่วมกับพนา

Recent Posts

Unordered List

Theme Support